ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม
ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม

สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

สภาพชุมชนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่อยู่บริเวณประตูสู่ล้านนา มีแหล่งร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง สินค้าประเภทของฝาก เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ผ้าหม้อฮ่อม และคนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตร อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเด่นชัย


อำเภอเด่นชัย  จังหวัดแพร่

ประวัติความเป็นมา

 เดิมเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอสูงเม่น ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอในปีพ.ศ.2506 เคยมีประวัติว่าเมื่อประมาณ พ.ศ.2445  ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี มีชาวเงี้ยวเข้ามาขุดพลอยที่ดอยปกกะโล้ง (ปัจจุบันคือที่ตั้งบ้านบ่อแก้ว ม.ต.ไทรย้อย) และต่อมาสมัครพรรคพวกเข้าปล้นเมืองแพร่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้พระยาสุรศักดิ์มนตรียกทัพปราบพวกเงี้ยวโดยได้ตั้งค่ายทัพที่บ้านเด่นทัพชัย และทำการปราบปรามพวกเงี้ยวได้เป็นผลสำเร็จ จึงให้ชื่อค่ายว่า "ค่ายเด่นทัพชัย" ต่อมาได้ยกฐานะเป็นตำบลเด่นชัยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1  อ.เด่นชัย เป็นที่ตั้งของกองทัพทหารพรานก่อนที่จะถอยกำลังไปรวมกับจังหวัดทหารบกลำปาง เมื่อ พ.ศ.2476 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพทหารม้าที่ 12 ค่ายพระยาไชยบูรณ์

      เด่นชัยเริ่มความสำคัญทางการคมนาคม เมื่อทางรถไฟตัดผ่านไปจังหวัดลำปาง การเดินทางเข้าสู่จังหวัดแพร่ น่าน พะเยา และเชียงราย จำเป็นต้องขึ้นรถที่อำเภอ จึงทำให้อำเภอเด่นชัยเป็นชุมทางที่สำคัญ ปัจจุบันการคมนาคมทางรถยนต์สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น มีทางหลวงแผ่นดินสร้างขึ้นมาใหม่หลายสาย
จึงมีความสำคัญลดลงไปบ้าง
 


เนื้อที่/พื้นที่    547.85 ตร.กม.

ที่ตั้งและอาณาเขต

      อำเภอเด่นชัยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด 

มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงต่อไปนี้

- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสูงเม่น
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสูงเม่น และ
อำเภอท่าปลา (จังหวัดอุตรดิตถ์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับ
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์และอำเภอลับแล (จังหวัดอุตรดิตถ์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
อำเภอวังชิ้นและอำเภอลอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเด่นชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 52 หมู่บ้าน ได้แก่

          1. เด่นชัย (Den Chai) 11 หมู่บ้าน        

          2. แม่จั๊วะ (Mae Chua) 10 หมู่บ้าน        

          3. ไทรย้อย (Sai Yoi) 12 หมู่บ้าน        

          4. ห้วยไร่ (Huai Rai)  9 หมู่บ้าน       

          5. ปงป่าหวาย (Pong Pa Wai) 10 หมู่บ้าน       

ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม

คำขวัญอำเภอ    

พระเจ้าแสนแซ่คู่บ้าน พระธาตุสุโทนคู่เมือง ประตูล้านนาลือเลื่อง ของพื้นเมืองไม้กวาด เด่นชัยสะอาดงามตา

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

1. อาชีพหลัก  ได้แก่  เกษตรกรรม รับจ้าง 

2. อาชีพเสริม  ได้แก่  อุตสาหกรรมในครัวเรือน 

ด้านสังคม

1. โรงเรียนมัธยม ได้แก่  โรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์   โทร.0-5461-3377 

2. มหาวิทยาลัย ได้แก่  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่   โทร. 0-5461-3313

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ   คือ   ไม้สัก

ด้านประชากร

1. จำนวนประชากรทั้งสิ้นรวม   36,991  คน

2. จำนวนประชากรชายรวม   18,554  คน

3. จำนวนประชากรหญิงรวม   18,437 คน

4. ความหนาแน่นของประชากร   68 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม

ทางบก     - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  101
          - สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์   0-5461-4102
          - สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  0-5461-3260-1



Adobe Acrobat Document ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 285.4 KB